วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ข้อควรรู้เกี่ยวกับซอฟต์แวร์


ข้อควรรู้เกี่ยวกับซอฟต์แวร์

Application Software : คือซอฟต์แวร์ประยุกต์ หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ประยุกต์ใช้งานทั่วไป อันดับหนึ่งคือ ไมโครซอฟต์เวิร์ด

Package sofware : คือซอฟต์แวร์ที่มีขาย และใช้กันอยู่ทั่วไป

Version (ฉบับที่) คือการยกระดับที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ เวอร์ชั่นแสดงตัวเลข ตัวเลขที่สูงกว่าคือเวอร์ชั่นที่สูงกว่า

Release (ฉบับที่) คือการยกระดับย่อยจะแสดงตัวเลขหลังจุดทศนิยม เช่น 3.01

ซอฟต์แวร์สาธารณะ หรือ Public Domain Software คือซอฟต์แวร์ที่ผลิตแล้วยอมให้ผู้ใช้สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงิน เช่น อาจจะผลิตโดยหน่วยงานของรัฐ หรืออาจผลิตขึ้นโดยบริษัทใดๆ แล้วได้บริจาคให้แก่สาธารณะ

ฟรีแวร์ หรือ Freeware คือ ซอฟต์แวร์ที่สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินมักจะเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตนำออกมาให้ผู้ใช้ทดลองใช้ฟรี เพื่อจะดูผลตอบสนองของผู้ใช้ต่อซอฟต์แวร์นั้น เพื่อที่จะได้นำไปพัฒนาต่อไป

แชร์แวร์ หรือ Shareware คือ ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ ซึ่งใช้ได้อิสระไม่ต้องเสียเงิน แต่ต้องจ่ายเงินอุดหนุนในกรณีที่เราต้องการคำแนะนำบางอย่าง หรือเราต้องการความช่วยเหลือในการยกระดับซอฟต์แวร์ขึ้น

Software Licenses : ลิขสิทธิ์ ซอฟต์แวร์ หมายถึง สิทธิของการเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์นั้นๆ โดยผู้พัฒนาซอฟต์แวร์นั้นนั่นเอง โดยผู้เป็นเจ้าของมีสิทธิทางกฎหมายที่จะห้ามมิให้ผู้ใดทำการ Copy ซอฟต์แวร์นั้น โดยมิได้รับอนุญาต

ทรัพย์สินทางปัญญา : หมายถึง ผลของความคิดมนุษย์ที่มีคุณประโยชน์ที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ และการปกป้องรักษาทรัพย์สินทางปัญญามีอยู่ 3 ชนิด คือ
1. สิทธิบัตร(Patent) หรือการจดทะเบียนใช้กับสิ่งประดิษฐ์
2. ความลับทางการค้า(Trace secrete)
3. การจดลิขสิทธิ์ (copyrights) ใช้กับเพลง, หนังสือ

การโจรกรรมซอฟต์แวร์ หมายถึง การทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ โดยที่ยังไม่ได้ขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ มีอยู่ 2 วิธี
1. การ Copy
2. การ Download

ตำรวจซอฟต์แวร์ คือ องค์กรอุตสาหกรรม เช่น สมาคมผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์เป็นผู้ตรวจสอบดูแลการใช้ซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมาย การโจรกรรมซอฟต์แวร์ ทำให้ซอฟต์แวร์มีราคาถูกลงทั้งที่น่าจะแพงขึ้น และผู้ที่กระทำความผิดจะมีโทษจำคุกถึง 5 ปี ปรับ 250,000$ เมื่อขโมยโปรแกรม 10 ชุดขึ้นไป

ที่มาhttp://www.pbps.ac.th/e_learning/combasic/com_languages.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น